Friday, November 30, 2007

..Thai Culture^^




สวัสดี ^^



สวัสดี เป็นคำทักทายของคนไทย โดยจะใช้เมื่อแรกพบกัน หรือ เมื่อต้องการบอกลา โดยพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของคำว่า "สวัสดี (สวัสดิ์)" ว่าหมายถึง ความดี ความงาม ความเจริญรุ่งเรือง และความปลอดภัย
ที่มาของคำว่าสวัสดี
สวัสดี ก็มีที่มา...


"ฮัลโหล" เป็นคำทักทายที่ใช้มากที่สุดในการรับโทรศัพท์ บ่อยครั้งเราก็นำมาใช้เป็นคำทักทาย ระหว่างเพื่อนฝูง เมื่อพบเจอกัน ทุกวันนี้คนไทยใช้คำว่า "ฮัลโหล" กันจนติดปาก จนบางคนอาจจะลืมไปแล้วว่า คนไทยเราเองก็มีคำทักทายแบบไทย ๆ ที่มีความงดงามทางภาษา มีความไพเราะ และเป็นคำที่มีความหมายดีด้วย
เป็นเวลากว่า 64 ปีแล้ว ที่คำว่า "สวัสดี" ได้ก้าวเข้ามาในชีวิตของคนไทย ผู้ที่คิดค้นคำนี้ขึ้นก็คือ "พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)" ซึ่งในขณะนั้นท่านเป็นอาจารย์สอนที่คณะอักษรศ​​าสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านได้นำคำว่า "สวัสดี" ทดลองใช้ในหมู่นิสิตจุฬาก่อน หลังจากนั้นรัฐบาลในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้นำคำว่า "สวัสดี" มาใช้เป็นคำทักทายอย่างเป็นทางการ เมื่อปีพ.ศ. 2486
คำว่า "สวัสดี" นั้น พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ได้พิจารณามาจากศัพท์ "โสตถิ" ในภาษาบาลี หรือ "สวัสดิ" (สะ-หวัด-ดิ) ในภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในวรรณคดีไทยมานาน โดยคำว่า "โสตถิ" หรือ "สวัสดิ์" นี้พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่​​า สวัสดิ์
สวัสดี มีความหมายว่า ความดี ความงาม ความเจริญรุ่งเรือง ความปลอดภัย


โสตถิ มีความหมายว่า ความสวัสดี ความเจริญรุ่งเรื่อง
จะเห็นได้ว่าคำดังกล่าว เป็นความหมายที่ดี จึงมีความเหมาะสม ที่จะใช้กล่าวเมื่อแรกพบกัน หรือเมื่อลาจากกัน เพราะสวัสดี ไม่ได้เป็นเพียงแค่ คำทักทายเท่านั้น แต่ยังเปี่ยมไปด้วยไมตรีจิต เป็นการอวยพรให้กับผู้ที่เราสนทนา ให้ประสบแต่สิ่งดี ๆ นั่นเป็นลักษณะพิเศษในคำทักทายของคนไทย ซึ่งในคำทักทายของหลายชาติไม่มีเหมือน ยกตัวอย่างคำว่า "ฮัลโหล" ในภาษาอังกฤษ ก็แค่ทักทายกันเมื่อพบกัน คำว่า "หนีฮ่าว" ของภาษาจีนนั้นก็มีความหมายว่าคุณสบายดีไหม ส่วนคำทักทายทั้ง 3 เวลาของชาวญี่ปุ่นนั้น ก็จะเป็นแค่การทักทายโดยทั่วไป ไม่ได้มีความหมายพิเศษอื่น ๆ แต่อย่างไร
ส่วนคำว่า "สวัสดี" นั้นจะทำหน้าทีทั้งการทักทาย และอวยพรไปในคราวเดียวกัน และ เมื่อเรากล่าวคำสวัสดี คนไทยเรายังยกมือขึ้นประนมไหว้ตรงอก มือทั้งสองจะประสานกันเป็นรูปดอกบัวตูม เหมือนสัญลักษณ์ที่สื่อความหมาย ถึงสิ่งสูงค่าที่เป็นมงคล เพราะชาวไทยใช้ดอกบัวในการสักการะผู้ใหญ่บูชา​​พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ส่วนการวางมือไว้ตรงระดับหัวใจนั้น เป็นการถ่ายทอดความรู้สึกให้เห็นว่า การทักทายนั้น มาจากใจของผู้ไหว้
ดังนั้น เมื่อกล่าวคำว่า สวัสดี พร้อมกับการยกมือขึ้นประนม จึงแฝงให้เห็นถึงความมีจิตใจที่งดงามของคนไทย ที่หวังให้ผู้อื่นพบเจอแต่ในสิ่งที่ดี ซึ่งการกระทำที่งดงามดังกล่าวนี้ ถือเป็นมงคลทั้งต่อตัวผู้พูด และผู้ฟัง

ไม่ว่าโลกจะล้ำหน้าไปขนาดไหนเพียงใดก็ตาม แต่การทักทายด้วยคำว่า สวัสดี ที่สื่อถึงความจริงใจมีไมตรี และความปรารถนาดี ที่คนไทยมีต่อกันและกันนั้น ก็ยังไม่เคยล้าสมัย
ซึ่งชาวต่างชาติเขาก็ยังชื่นชมวัฒนธรรมล้ำค่า​​นี้ แล้วพวกเราจะปล่อยให้ การคำทักทายอย่าง "สวัสดี" นั้นสูญสลายหายไปตามกาลเวลาหรือ....



LET'S LOI-KA-TONG ^-^


ประเพณีลอยกระทง





ประเพณีลอยกระทง ตรงกับวันเพ็ญ (วันขึ้น 15 ค่ำ) เดือน 12 (ตามปฏิทินทางจันทรคติ) ประมาณเดือนพฤศจิกายน ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห​​์และขอขมาต่อแม่พระคงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทท​​ี่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหัน​​ต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดใน​​ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแต​​กต่างกันไป การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดเทศกาล "สีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง" เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำตลอดทั้งเดื​​อนพฤศจิกายน นอกจากจะมีกิจกรรมเด่น ในหลายพื้นที่ เช่น งานลอยกระทงกรุงเทพมหานคร, ประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย, ประเพณียี่เป็ง จังหวัดเชียงใหม่, ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวงฯ จังหวัดตาก และประเพณี ลอยกระทงตามประทีป จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้แล้วยังเป็นการส่งเสริมประชาสัมพันธ​​์งานประเพณีลอยกระทงให้เป็นสินค้าทางการท่อง​เ​ที่ยวในระดับนานาชาติ (World Events) โดยการผสมผสานกิจกรรมใหม่ ๆ ขึ้น เช่น เทศกาลโคมไฟนานาชาติหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเดินทางของนักท่องเที​​่ยวตลอดเดือนต่อไป
วัตถุประสงค์


1. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมให้เกิด​​การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟู ประเพณี อันดีงามของไทย(โดยเฉพาะประเพณีลอยกระทงของแต​​่ละท้องถิ่น) ไว้สืบทอดต่อไป 2. เพื่อส่งเสริมให้งานประเพณีลอยกระทง เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยว โดยสามารถนำเสนอในรายการนำเที่ยวเป็นประจำทุก​​ปี ในอนาคตอย่างยั่งยืน 3. เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวและรายได้ พร้อมทั้งขยายวันพักของนักท่องเที่ยวทั้งในแล​​ะต่างประเทศ 4. เพื่อกระตุ้นให้เกิดกระแสการเดินทางท่องเที่ย​​วของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศในช​่​วงเทศกาลประเพณีลอยกระทง และการท่องเที่ยวทางน้ำตลอดเดือนพฤศจิกายน
กิจกรรม รูปแบบการจัดงานลอดกระทงของจังหวัดนครปฐม ได้เน้นการส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีอันดีงา​​มของไทย ได้แก่ 1. เชิญชวนให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งราชการและเอกชนประดิษฐ์กระทงส่งเข้าประกว​​ด โดยแบ่งเป็นประเภทสวยงามและประเภทความคิด กำหนดขนาด เส้นผ่าศูนย์ กลางไม่ต่ำกว่า 1 เมตร ประเภทสวยงามต้องประดิษฐ์ด้วยดอกไม้สด ส่วนประเภทความคิดไม่จำกัดวัสดุ ผู้ส่งกระทงเข้าประกวดต้องจัดขบวน แห่โดยตั้งขบวนจาก เทศบาลเมืองนครปฐม ไปยังพระราชวังสนามจันทร์ให้ประชาชนได้ชมความ​​สวยงามและเป็นการเชิญชวนให้คนมาร่วมงานกระทง ที่แห่มานั้นจะนำมาลอยไว้ ในสระเพื่อรอให้คณะกรรมการตัดสินให้รางวัล
2. เชิญชวนให้หน่วยงานต่าง ๆ ประดิษฐ์โคมแขวนส่งเข้าประกวด เพื่อเป็นการฟื้นฟู ประเพณีงานจุดประทีปโคมไฟเมื่อครั้งสุโขทัย ให้อนุชนรุ่นหลังได้ ทราบ ว่างานลอยกระทงในสมัยโบราณมีความยิ่งใหญ่สวยง​​ามเพียงใด โคมแขวนนั้นมีจุดประสงค์เพื่อบูชาพระรัตนตรัย การส่งโคมแขวนนั้นมีจุดประสงค์ เพื่อบูชา พระรัตนตรัย การส่งโคมแขวนประกวดแบ่งออกเป็น 2 ประเภทเช่นเดียวกับกระทง คือ ประเภทสวยงามทำด้วยดอกไม้สด กับประเภทความคิดไม่จำกัดวัสดุ
3. จัดให้มีการแสดงและการละเล่นทางวัฒนธรรมไทย เช่น การแสดงบนเวทีประเภท ดนตรีไทย นาฏศิลป์ไทย การละเล่นของคนไทยภาคต่าง ๆ และการประกวด นางนพมาศ เป็นต้น
4. มีการเล่นเพลงเรือ โดยมีเรือเพลงชายและหญิง ลอยในสระน้ำร้องเพลงเรือโต้ตอบกัน เป็นการสาธิตการเล่นเพลงเรือแบบโบราณ เพื่อรักษาการละเล่นแบบ เก่าไม่ ให้สูญหายและเป็นการเพิ่มความสนุกสนานของงานย​​ิ่งขึ้น
5. มีการจุดพลุ ดอกไม้ไฟ และไฟพะเนียง เพื่อสร้างบรรยากาศรื่นเริงแบบไทย ๆ ให้มีสี สันสวยงามยิ่งขึ้น
นับว่างานลอยกระทงเป็นงานพิธีเก่าแก่ของไทยที​​่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ สมควรที่ทุกจังหวัดได้ร่วมมือกันจัดงานนี้อย่​​างพร้อมเพรียงกันทั้งนี้นอก จากสืบทอด ประเพณี ที่ดีงามให้คงอยู่ต่อไปแล้วยังสอดคล้องกับสถา​​นการณ์ปัจจุบัน ซึ่งช่วยปลูกฝังให้ประชาชนรักษาดูแลแม่น้ำลำค​​ลองไม่ให้เน่าเสีย ทั้งยังรณรงค์ ให้ใช้ วัสดุ ธรรมชาติในการประดิษฐ์กระทงลอย เช่น ใบตองและหยวกกล้วย ตามแบบโบราณไม่ควรใช้วัสดุที่ย่อยสลายยาก เช่น โฟม พลาสติกต่าง ๆ เป็นต้น


สอนทำกระทงแบบที่ 1


วิธีทำ 1. ตัดใบตองขนาดความกว้าง 1.5 นิ้ว ยาว 6 นิ้ว โดยประมาณ 2. พับตามรูป จำนวน 3 กลีบ จากนั้นนำมาวางซ้อนให้ลดหลั่นกันไปตามภาพ ซึ่งจะนับเป็น 1 ตับ 3. นำไปติดโดยรอบที่ขอบของฐานกระทง ซึ่งเป็นต้นกล้วยตัดเป็นแว่น ความหนา 1.5 - 2 นิ้ว โดยประมาณ ทั้งนี้ปริมาณของกลีบกระทงที่ใช้จะมากหรือน้อ​​ยนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของตัวฐาน 4. จากนั้นประดับด้วยดอกไม้ตามความชอบ และปักธูปเทียนลงไป เป็นอันเสร็จ สามารถนำการพับใบตองรูปแบบนี้ไปใช้ร่วมกับการ​​พับรูปแบบอื่นๆ ในผลงานชิ้นเดียวกันได้ตามความชอบ และความคิดดัดแปลง
ส่วนตอนที่จะนำไปลอยนั้น บางคนอาจจะตัดเล็บ และผมใส่ลงไปด้วย ตามความเชื่อว่าเป็นการขจัดสิ่งร้ายๆ ให้ออกไปจากตัวเรา หรือจะใส่เหรียญลงไปด้วย เพื่อนำมาซึ่งความมั่งคั่งตามความเชื่อก็ได้น​​ะคะ
สอนทำกระทงแบบที่ 2
วิธีทำ 1. ตัดใบตองขนาดความกว้าง 1.5 นิ้ว ยาว 6 นิ้ว โดยประมาณ 2. พับเป็นกลีบกุหลาบตามรูป จำนวน 3 กลีบ จากนั้นนำมาสวมเรียงกันให้มีระยะห่างพองามตาม​​ความชอบ ควรจัดให้ยอดของกลีบ และลอนของกลีบตรงเสมอเป็นแนวเดียว ซึ่งจะทำให้ผลงานออกมาดูสวยงามเป็นระเบียบเรี​​ยบร้อย 3. ใช้ด้ายสีเขียวใกล้เคียงกับใบตอง หรือสีดำมาเย็บติดกันด้วยด้นถอยหลังให้เป็นแน​​วตรงเสมอกันโดยตลอด 4. พับกลีบใบตองแล้วเย็บต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสามารถหุ้มขอบของฐานกระทงได้โดยรอบ ตรึงกลับใบตองกับฐานของกระทงด้วยหมุด แล้วขลิบส่วนที่เลยพ้นฐานลงมาให้เรียบร้อยเสม​​อกับฐาน เมื่อทำเสร็จแล้วจะมีลักษณะคล้ายกับมงกุฎสวมศ​​ีรษะ 5. จากนั้นประดับด้วยดอกไม้ตามความชอบ และปักธูปเทียนลงไป เป็นอันเสร็จ สามารถนำการพับใบตองรูปแบบนี้ไปใช้ร่วมกับการ​​พับรูปแบบอื่นๆ ในผลงานชิ้นเดียวกันได้ตามความชอบ และความคิดดัดแปลง
ส่วนตอนที่จะนำไปลอยนั้น บางคนอาจจะตัดเล็บ และผมใส่ลงไปด้วย ตามความเชื่อว่าเป็นการขจัดสิ่งร้ายๆ ให้ออกไปจากตัวเรา หรือจะใส่เหรียญลงไปด้วย เพื่อนำมาซึ่งความมั่งคั่งตามความเชื่อก็ได้น​​ะคะ
เชิญลอยกระทงบนอินเตอร์เน็ตกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คลิกที่นี่ครับ
กระทงสาย
ประเพณีลอยกระทงสาย ไหลประทีปพันดวง ถือเป็น ประเพณีของชาวเมืองตากที่นำวิถีชีวิตของบรรพช​​นมาผสมผสานเข้ากับความเชื่อ และหลักศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งที่บรรพบุรุษได้ปลูกฝังและถ่ายทอ​​ดมาสู่จิตสำนึกของลูกหลานไทยมาแต่บรรพกาล ก่อให้เกิดประเพณีที่ร้อยรักรวมใจของคนเมืองต​​ากให้เป็นหนึ่งเดียว
ในอดีต ชาวเมืองตากจะมีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณริมฝั่งแม​​่น้ำปิง วิถีชีวิตของชาวตากจึงมีความผูกพันกับสายน้ำท​​ี่เปรียบเสมือนสายโลหิตที่หล่อเลี้ยงชาวเมือ​ง​ตากมานานหลายชั่วอายุคน จากความกตัญญูรู้คุณต่อสายน้ำ ก่อให้เกิดประเพณีที่แสดงออกถึงความกตัญญู ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองชาวเมืองตากได้จัดให้​​มีการลอยกระทงขึ้น ประเพณีลอยกระทงสาย ไหลประทีปพันดวง เกิดจากการร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านในหมู่บ้าน​​ในการดำเนินกิจกรรม อันเป็นความเชื่อในการจัดทำกระทงนำไปลอย เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า อีกทั้งยังเป็นการลอยทุกข์โศกโรคภัยให้พ้นไปจ​​ากตนเอง และขอขมาที่ได้อาศัยแม่น้ำและทิ้งของเสีย ถ่ายเทสิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำปิง โดยใช้โอกาสนี้ในการพบปะพูดคุย จัดกิจกรรมรื่นเริงภายในหมู่บ้านอีกด้วย
เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนสิบสอง ชาวเมืองตากทุกครัวเรือนจะนำด้ายดิบ (ด้ายที่ปั่นมาจากฝ้าย) มาฟั้น ด้วยแต่ละเส้น จะประกอบด้วยด้ายเส้นเล็กๆ จำนวน 9 เส้น จากนั้นจะนำด้านที่ฟั้นเสร็จแล้วมาวัดตามความ​​ยาวของแขนที่กางออกทั้งสองข้างของสมาชิกภายใ​น​บ้านทุกคน เรียกว่า วัดวา แล้วเด็ดออก ด้ายแต่ละเส้นจึงมีความยาวไม่เท่ากันแล้วแต่ว​​่าผู้วัดจะมีความยาวของแขนเท่าไร จากนั้น นำด้ายที่วัดวาแล้วมาวัดที่ศรีษะของผู้เป็นเจ​​้าของด้ายเส้นนั้น เมื่อวัดรอบศรีษะได้เท่าใดก็ให้เด็ดออก จากนั้นนำด้ายที่วัดรอบศีรษะที่เด็ดออกมามัดต​​่อเข้ากับด้ายเส้นเดิม การกระทำเช่นนี้เป็นความเชื่อของผู้เท่าผู้แก​​่ ถือว่าเป็นการต่ออายุให้กับตนเอง




No comments: